งานวิจัยด้านมาตรฐานการทดสอบที่สภาวะทำงาน (Field Testing Standard)
เป้าหมายและขอบเขตการวิจัย
I.แท่นทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด (CES Test bed)
มุ่งพัฒนาแท่นทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด ที่ศูนย์เรียนรู้ไฟฟ้าชนบท ครอบคลุมระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด และไมโครกริด และอุปกรณ์ประกอบในระบบ ภายใต้มาตรฐานการทดสอบภาคสนามที่เกี่ยวข้อง เช่น IEEE 1547 Standard for Interconnecting Distributed Resources with Electric Power Systems, IEC/PAS 62111 Specifications for the Use of Renewable Energies in Rural Decentralized Electrification และ IEC/TS 62275: Recommendations for Small Renewable Energy and Hybrid Systems for Rural Electrification
II.งานวิจัยด้านเครื่องมือวัดภาคสนาม (Field testing instrument)
มุ่งพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณ เช่น เครื่องวัดความเข้มรังสีอาทิตย์ เครื่องวัดความเร็วลม เครื่องวัดอัตราการไหล เครื่องเก็บข้อมูลอัตโนมัติ เครื่องทดสอบ I-V curve ฯลฯ เพื่อติดตั้งใช้งานกับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดที่ดำเนินการติดตั้งโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทุกระบบ หรือพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์
III.งานวิจัยด้านการวิเคราะห์สมรรถนะระบบ (Long term monitoring)
มุ่งติดตามข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์สมรรถนะระบบอย่างต่อเนื่อง ภายใต้มตรฐาน IEC 61724 “Photovoltaic System Performance Monitoring – Guidelines for Measurement, Data Exchange and Analysis ร่วมกับการพัฒนาฐานข้อมูลระบบผลิตไฟฟ้าที่ดำเนินการติดตั้งโดยห้องปฎิบัติการวิจัย ผ่านระบบรับส่งข้อมูลระยะไกลแบบไร้สาย ที่สามารถทำงานได้แม่นยำ เสถียร และราคาถูก เพื่อใช้เป็นข้อมูลในพัฒนาระบบพลังงานสะอาดที่มีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยพลังงานต่ำที่สุด และมีความมั่นคงของระบบสูงที่สุด
โครงการวิจัยและงานบริการวิชาการ
ปี | โครงการ | แหล่งทุน |
---|---|---|
2016 | การพัฒนาชุดทดสอบสมรรถนะกังหันน้ำขนาดเล็กมาก | ว.1 |
2015 | การพัฒนาแท่นทดสอบโครงข่ายไฟฟ้าอิสระอัจฉริยะขนาดเล็ก | ว.1 |
2013 | การศึกษาสมรรถนะระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนแบบอิสระผ่านระบบรับส่งข้อมูลระยะไกลแบบไร้สาย | ว.1 |
2012 | โครงการพัฒนาแท่นทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน | ว.1 |