งานวิจัยด้านการจัดการด้านผู้ใช้ (Demand Side Management)
เป้าหมายและขอบเขตการวิจัย
มุ่งวิจัยการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างเหมาะสม (optimizing energy demand) โดยการปรับเปลี่ยนปริมาณ และหรือ ลักษณะของการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า (end-use) ให้สมดุลกับการผลิตไฟฟ้า โดยผ่านเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ (Strategic load growth) หรืออาจเป็นการปรับเปลี่ยนการใช้ไฟฟ้าด้วยวิธีการจัดการบริหารความต้องการใช้ไฟฟ้า (Demand response)
I.งานวิจัยด้าน Strategic load growth
เน้นการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งช่วยลดการใช้ไฟฟ้าทุกช่วงเวลา โดยการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง และด้าน Peak clipping ที่เน้นการจัดการให้ช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุดลดลง (Reduction of Peak Load) การควบคุมเวลาและปริมาณการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง
II.งานวิจัยด้าน Demand Response
เน้นงานวิจัยด้าน Peak shifting ซึ่งเป็นการเลื่อนการใช้ไฟฟ้าจากช่วง peak มาสู่ off-peak เช่น storage water heating หรือ เลื่อนเวลาการใช้ไฟฟ้าโดยผู้ใช้เอง และ Valley filling ในขณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้ายังคงได้รับคุณประโยชน์รวมทั้งความพึงพอใจเท่าเดิมหรือ ดีกว่าเดิม
III.งานวิจัยด้าน Home Automation
อาศัยงานวิจัยด้านสมองกลฝังตัว (Embedded system) ในการพัฒนาบ้านอัตโนมัติ ที่อำนวยความสะดวกให้กับอยู่อยู่อาศัย เช่น การควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น
โครงการวิจัยและงานบริการวิชาการ
ปี | โครงการ | แหล่งทุน |
---|---|---|
2016 | การพัฒนาชุดแปลงกำลังไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับพลังงานทดแทน | ว.1 |
2015 | โครงการระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะสำหรับบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ (EMS) | ดร.พิชญ์ พกษาทร |
2015 | โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์แบบเชื่อมต่อสายส่งกำลังไฟฟ้า (on-grid) | ดร.พิชญ์ พกษาทร |
2014 | โครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านสมาร์ทโฮมกับบริษัท SMA Solar (Thailand) | บริษัท SMA |
2012 | โครงการการฟื้นฟูระบบโซลาร์โฮมเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนในถิ่นทุรกันดาร กรณีศึกษาพื้นที่อ่าวพังงา | สสส. |